วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

การตอบสนองจากนานาชาติต่อการเป็นประธานอาเซียนของพม่ามีทั้งในทางบวกและลบ


ในแง่บวก ประเทศส่วนใหญ่เริ่มมีท่าทีที่อ่อนข้อลงกับพม่า โดยเฉพาะประเทศในตะวันตก--สหรัฐอเมริกาและยุโรป อย่างน้อย ประเทศเหล่านี้มองว่า พม่ามีความจริงใจในการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับหนึ่ง ตัวอย่างของการแสดงความอ่อนข้อในเรื่องนโยบาย อาจได้แก่ การที่รัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปได้พบปะกันเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพิ่อพิจารณายกเลิกมารตรการคว่ำบาตรบางมาตรการต่อพม่า ขณะเดียวกัน รัฐสภาของพม่าออกรายงานที่มีเนื้อความว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามาน่าจะยกเลิกมาตราการคว่ำบาตรในบางด้านเช่นกันหลังจากที่การเลือกตั้งซ่อมในพม่าเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 สิ้นสุดลง ในเอเชียนั้น ประเทศที่เริ่มปรับนโยบายพม่าที่เห็นชัดเจนคือญี่ปุ่น เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นได้ส่งตัวแทนเดินทางไปยังพม่าเพื่อเริ่มโครงการให้ความช่วยเหลือและลงทุนในภาคอุตสาหกรรมสำคัญของพม่า โดยญี่ปุ่นได้ย้ำกับผู้นำของพม่าว่าพร้อมที่จะทำงานร่วมกันเพื่อที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจพม่าเข้มแข็งและมีกฏเกณฑ์ที่แน่ชัดมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อนักลงทุนต่างชาติ


ในส่วนของแง่ลบนั้น ปัญหาการกักขังนักโทษการเมืองของพม่า (แม้ว่ารัฐบาลจะให้อิสรภาพแก่นักการเมืองมากพอควรในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา) รวมถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ยังมีอยู่ นำไปสู่การคงอยู่ของทัศนคติในทางลบของประเทศตะวันตกบางประเทศ นอกจากนั้น ปัญหาการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ และปัญหาการค้ามนุษย์ ล้วนแต่เป็นปัจจัยตัดโอกาสความน่าเชื่อถือของพม่า และเป็นสาเหตุที่อธิบายว่า ทำไมมาตรากาคว่ำบาตรจึงไม่หมดไปเสียที ประเทศตะวันตกบางประเทศรู้สึกผิดหวังที่อาเซียนมอบตำแหน่งประธานให้กับพม่าเร็วเกินไป โดยแสดงความเห็นว่า อาเซียนน่าจะใช้โอกาสนี้เป็นเครื่องต่อรองพม่า โดยอาจตั้งเงื่อนไขว่า หากพม่ายินยอมปล่อยตัวนักการเมืองมากขึ้น ก็จะพิจารณาการมอบตำแหน่งประเทศในปี 2556 อีกครั้งหนึ่ง (ก่อนที่พม่าจะได้ขึ้นมาเป็นประธานในปี 2557)

ขณะเดียวกัน ปฏิกิริยาของชนกลุ่มน้อยในพม่าก็อยู่ในแง่ลบเช่นเดียวกัน โดยกลุ่ม Burma Partnership ซึ่งเป็นเครือข่ายของชนกลุ่มน้อย ได้ออกแถลงการณ์กล่าวไม่พอใจต่อการตัดสินใจของอาเซียน โดยแสดงความเห็นว่า พม่าจำเป็นต้องให้ภารกิจดังกล่าวนี้ให้ลุล่วงก่อนที่จะได้รับมอบภารกิจสำคัญของอาเซียน ได้แก่ การปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมด การประกาศหยุดยิงถาวรกับชนกลุ่มน้อยและการยุติการโจมตีชนกลุ่มน้อยด้วยกำลังอาวุธที่มีความโหดร้าย และการเปิดช่องทางการสื่อสารกับชนกลุ่มน้อยและเปิดโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้เข้ามามีส่วนในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของพม่าด้วย

นโยบายของพม่าที่ผ่านมาไม่เคยประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ เพราะจริงๆ อาเซียนไม่เคยมีความเป็นเอกภาพในเรื่องพม่า และนโยบายส่วนใหญ่ก็เกิดจาการตอบสนอง (reaction) มากกว่าที่จะเป็นผู้กำหนดนโยบายพม่าด้วยตนเอง นำไปสู่ความไม่สามารถของอาเซียนในการสร้างอิทธิพลเหนือพม่า นโยบายการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของอาเซียนต่อพม่า (constructive engagement) มักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากต่างประเทศว่า ไม่มีน้ำยาหรือ ไร้ทิศทางและขาดความขลังแต่อาเซียนก็อดทนต่อคำวิจารณ์เหล่านั้นและยังรอวันที่อาเซียนจะแสดงให้โลกเห็นว่า นโยบายของตนคือคำตอบที่แท้จริงและการลงโทษพม่าโดยการคว่ำบาตรไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ในพม่าดีขึ้น และในที่สุด เวลานั้นก็มาถึงเมื่อพม่าเริ่มมีพัฒนาการทางการเมืองในทางบวกมากขึ้น การมอบภารกิจการเป็นประธานแก่พม่าเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณของอาเซียนให้ประชาคมรับรู้ว่า ที่ผ่านมา นโยบายของอาเซียนมีความถูกต้องเสมอแม้จะใช้เวลานานในการพิสูจน์ อาเซียนเป็นองค์กรที่ หวงพื้นที่กล่าวคือ ไม่ยอมให้ประชาคมโลกเข้ามาชี้ว่าต้องทำอะไร (แม้จะรู้ตัวดีว่าบางเรื่องที่ทำอยู่นั้นไร้ประโยชน์สิ้นดี) การเปิดประเทศของพม่าจึงเป็นโอกาสเหมาะของอาเซียนในอ้างถึงความสำเร็จในนโนยบายที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการสร้างความชอบธรรมของอาเซียนไปในตัว


พม่ากับตำแหน่งประธานอาเซียน 2557


พม่าได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนประจำปีในปี 2557 ซึ่งเป็นเวลานานถึง 8 ปีหลังจากที่พม่าต้องยอมสละวาระของการเป็นเจ้าภาพแบบหมุนเวียนของอาเซียนในปี 2549 (เนื่องจากถูกแรงกดดันของนานาชาติในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศของพม่า) แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้เกิดพัฒนาการทางด้านการเมืองของพม่าเป็นอย่างมาก แต่นักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศยังรู้สึกระแวงและเคลือบแคลงสงสัยว่า การเปลี่ยนแปลงในพม่าจะจีรังยั่งยืนแค่ไหน ความระแวงสงสัยยังครอบคุลมไปถึงความสามารถของพม่าในการเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 ด้วย
สำหรับพม่าแล้ว การเป็นประธานอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้ามีความหมายอย่างยิ่ง การเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมอาเซียนในครั้งนี้จะมีขึ้นเพียงหนึ่งปีก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่พม่าได้เริ่มกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (การเลือกตั้งครั้งแรกมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2553 – 20 ปีหลังจากการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายในปี 2533) การเป็นประธานอาเซียนจะนำมาซึ่งความชอบธรรมให้กับรัฐบาลปัจจุบันของประธานาธิบดีเต็งเส็ง ทั้งนี้ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบในการจัดการประชุมอาเซียนที่มีเกือบ 1 พันครั้งในช่วงการเป็นประธาน 1 ปี ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่รัฐบาลในการเปิดประเทศ อวดโฉมศักยภาพด้านการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากอาเซียนและจากกลุ่ม Dialogue Partners ของอาเซียน ขณะเดียวกัน ยังเป็นโอกาสของพม่าในการแสดงความเป็นผู้นำในอาเซียน โดยเฉพาะในการกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกเร่งรีบปรับโครงสร้างภาพในประเทศเพื่อรับต่อการเป็นชุมชมอาเซียนในอีก 1 ปีถัดไป (2558) จากมุมมองนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเป็นประธานอาเซียนของพม่ามีผลต่อการกำหนดทิศทางทางการเมืองภายในอย่างมาก ในส่วนของอาเซียนนั้น การมอบตำแหน่งประธานให้พม่าเป็นสิ่งที่หลีกเลียงไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น การเปลี่ยนแปลงพม่าในทางบวกถือเป็นการปลดอาเซียนออกจากคำกล่าวหาของนานาชาติว่าไร้ความสามารถในการสร้างแรงกดดันในพม่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การมอบตำแหน่งประธานจึงเท่ากับเป็นการตอกย้ำว่า นโยบายของอาเซียนในเรื่องพม่าเดินมาถูกทางแล้ว ที่สำคัญ พม่าเป็นเพียงประเทศสมาชิกเดียวที่ยังไม่เคยได้รับตำแหน่งประธานอาเซียน พิจารณาจากสาเหตุเหล่านี้ อาเซียนเห็นว่าพม่าพร้อมแล้วที่จะเป็นเจ้าภาพเร็วกว่ากำหนดเดิม 2 ปี



การก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนของพม่า


การก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนของพม่า ที่พม่าเองก็พยายามปรับตัวรวมทั้งมีข้อได้เปรียบต่างๆที่ทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มหากพม่าเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ก็มีอีกหลายเรื่องที่พม่าต้องเร่งปรับตัว หนึ่งในการปรับตัวของพม่าคือการเปิดเวทีเสวนาในระดับชาติที่รัฐบาลพม่าร่วมกับภาคเอกชน พยายามร่วมกันหาแนวทางเพื่อให้พม่าได้รับกับประโยชน์สูงสุดเมื่อถึงเวลาเข้าร่วมกับประชาคมอาเซียน
แนวทางการเรียนรู้เพื่อการลงทุนในประเทศพม่าของนักลงทุนไทย และการเริ่มต้นเรียนรู้จากแรงงานพม่าที่อยู่ในประเทศไทยก่อนการลงทุน ถือเป็นหนึ่งในโอกาสที่นักลงทุนไทยควรเรียนรู้ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน เพาะแรงงานพม่าจากเดิมที่เป็นลักษณะผู้ใช้แรงงาน ในปัจจุบัน แรงงานพม่าที่อยู่ในประเทศไทยยกระดับพัฒนาฝีมือและคุณค่าแรงงานของตนเองจนถึงขั้นที่บางคนเป็นกุ๊กใหญ่ประจำร้านอาหาร หรือเป็นโฟร์แมนคุมงานก่อสร้างเสียด้วยซ้ำ ซึ่งงานก่อสร้างถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนไทยในพม่า
การวิเคราะห์แนวทางทางด้านสังคมการเมืองของพม่า การปรับตัวของนักการเมืองและนักการทหารที่พยามปรับบทบาทมาสู่โลกเสรีมากขึ้น รวมทั้งข้อเสนอแนวคิดในการยุติสงครามกับชนกลุ่มชาติพันธุ์แล้วหันไปร่วมกับชนกลุ่มชาติพันธุ์พัฒนาพื้นที่นั้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และใช้เป็นกองกำลังปกป้องพื้นที่ตามแนวชายแดน เพื่อรักษาจุดยุทธศาสตร์ภายในประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์การเมืองในอนาคตที่น่าสนใจ


พม่าปิดตัวเองมายาวนาน ทำให้สังคมโลกให้ความสนใจที่จะเข้าถึงและเรียนรู้วัฒนธรรมของพม่าหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การท่องเที่ยวจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคนนอก รวมไปถึงข้อเสนอที่ทำให้เห็นความได้เปรียบเสียเปรียบในแต่ละส่วนระหว่างไทยกับพม่า

พม่ากับตำแหน่งประธานอาเซียน 2557




พม่าได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนประจำปีในปี 2557 ซึ่งเป็นเวลานานถึง 8 ปีหลังจากที่พม่าต้องยอมสละวาระของการเป็นเจ้าภาพแบบหมุนเวียนของอาเซียนในปี 2549 (เนื่องจากถูกแรงกดดันของนานาชาติในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศของพม่า) แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้เกิดพัฒนาการทางด้านการเมืองของพม่าเป็นอย่างมาก แต่นักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศยังรู้สึกระแวงและเคลือบแคลงสงสัยว่า การเปลี่ยนแปลงในพม่าจะจีรังยั่งยืนแค่ไหน ความระแวงสงสัยยังครอบคุลมไปถึงความสามารถของพม่าในการเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 ด้วย
สำหรับพม่าแล้ว การเป็นประธานอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้ามีความหมายอย่างยิ่ง การเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมอาเซียนในครั้งนี้จะมีขึ้นเพียงหนึ่งปีก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่พม่าได้เริ่มกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (การเลือกตั้งครั้งแรกมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2553 – 20 ปีหลังจากการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายในปี 2533) การเป็นประธานอาเซียนจะนำมาซึ่งความชอบธรรมให้กับรัฐบาลปัจจุบันของประธานาธิบดีเต็งเส็ง ทั้งนี้ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบในการจัดการประชุมอาเซียนที่มีเกือบ 1 พันครั้งในช่วงการเป็นประธาน 1 ปี ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่รัฐบาลในการเปิดประเทศ อวดโฉมศักยภาพด้านการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากอาเซียนและจากกลุ่ม Dialogue Partners ของอาเซียน ขณะเดียวกัน ยังเป็นโอกาสของพม่าในการแสดงความเป็นผู้นำในอาเซียน โดยเฉพาะในการกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกเร่งรีบปรับโครงสร้างภาพในประเทศเพื่อรับต่อการเป็นชุมชมอาเซียนในอีก 1 ปีถัดไป (2558) จากมุมมองนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเป็นประธานอาเซียนของพม่ามีผลต่อการกำหนดทิศทางทางการเมืองภายในอย่างมาก ในส่วนของอาเซียนนั้น การมอบตำแหน่งประธานให้พม่าเป็นสิ่งที่หลีกเลียงไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น การเปลี่ยนแปลงพม่าในทางบวกถือเป็นการปลดอาเซียนออกจากคำกล่าวหาของนานาชาติว่าไร้ความสามารถในการสร้างแรงกดดันในพม่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การมอบตำแหน่งประธานจึงเท่ากับเป็นการตอกย้ำว่า นโยบายของอาเซียนในเรื่องพม่าเดินมาถูกทางแล้ว ที่สำคัญ พม่าเป็นเพียงประเทศสมาชิกเดียวที่ยังไม่เคยได้รับตำแหน่งประธานอาเซียน พิจารณาจากสาเหตุเหล่านี้ อาเซียนเห็นว่าพม่าพร้อมแล้วที่จะเป็นเจ้าภาพเร็วกว่ากำหนดเดิม 2 ปี




ประวัติศาสตร์ของพม่า



ชนเชื้อชาติพม่า มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศธิเบต ได้อพยพลงมาทางใต้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศพม่าปัจจุบัน เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๙ บริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดี แบ่งออกเป็นสามพวกคือ
พวกมอญ - เขมร  มาสร้างเมืองตะโก้ง ทางตอนใต้เป็น แม้ว มอญ ละว้า
พวกธิเบต  เป็นพวกเผ่าอาระกัน ชิน และคะฉิ่น มีจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่มัณฑะเลย์ อังวะ และพุกาม
พวกไทย - จีน  อพยพมาอยู่เป็นพวกสุดท้าย ไปอยู่ทางตะวันตกเป็นพวกคะฉิ่น และไปทางตะวันออกเป็นพวกฉาน บางพวกไปตั้งถิ่นบานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำชินล์วิน บางพวกก็ข้ามไปอยู่ในมณฑลอัสสัม เรียกว่า ไทยอาหม บางพวกเคลื่อนลงมาทางใต้เป็นไทย กลุ่มที่สำคัญคือ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่
ประเทศพม่า ในห้วงเวลาดังกล่าวมีชนหลายเผ่าหลายเชื้อชาติ และอยู่เป็นอิสระต่อกัน จนถึงปี พ.ศ.๑๕๕๓ มีกษัตริย์พม่าองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าอโนรธามังช่อ สามารถรวบรวมชนเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และได้ทรงก่อตั้งอาณาจักรพม่าขึ้น ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก พระเจ้าอโนรธามังช่อสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๑๕๙๕ หลังจากนั้นก็มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาอีกหลายองค์
เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๐ มีชาวมอญจากเมาะตะมะชื่อ มะกะโท ได้ไปรับราชการอยู่ที่กรุงสุโขทัย แล้วกลับมาตั้งตนเป็นใหญ่ที่เมืองเมาะตะมะ เป็นกษัตริย์มอญทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๖ แต่อยู่ในอำนาจของกรุงสุโขทัย


ในเวลาต่อมาไทยและพม่า ก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันปกครองเมืองมอญ จนถึงปี พ.ศ.๑๙๒๘ มีกษัตริย์มอญทรงพระนามว่า พระเจ้าราชาธิราช ได้ไปตั้งเมืองหลวงใหม่ชื่อเมืองหงสาวดี ทางฝ่ายพม่าก็มีเมืองหลวงใหม่ชื่อ เมืองรัตนบุระอังวะ พม่ากับมอญทำสงครามกันมาตลอด จนถึงปี พ.ศ.๑๙๖๕ ได้มีบุคคลสำคัญคนหนึ่งชื่อ มังคินโย หรือมหาศิริชัยสุระ ทำการปราบทั้งพม่าและมอญได้ แล้วตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ที่เมืองตองอู ครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๒๘-๒๐๘๓ เมื่อพระเจ้ามหาศิริชัยสุระสิ้นพระชนม์ พระราชบุตรของพระองค์ทรงพระนามว่า ตะเบงชะเวตี้ ขึ้นครองราชย์ต่อมา และได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองหงสาวดี ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ถึงเมืองพะโค เมืองแปร เมืองเมาะตะมะ และเมืองตองอู เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าบุเรงนองได้ขึ้นครองราชย์ หัวเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรพม่าพยายามแยกตัวเป็นอิสระ แต่ในที่สุดก็ถูกปราบราบคาบ พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๔ พระเจ้านันทบุเรง ขึ้นครองราชย์ต่อมา และได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ   ในระยะนี้พวกมอญมีอำนาจมากขึ้น

การนำไปสู่เอกราชที่สมบูรณ์ของพม่า  มีอยู่ห้าระยะด้วยกันคือ
ระยะที่หนึ่ง (ตุลาคม ๒๔๘๘ - สิงหาคม ๒๔๘๙)  ภายใต้การปกครองของผู้ว่าราชการชาวอังกฤษเมื่ออังกฤษกลับมายึดพม่าได้จากญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ แล้ว อังกฤษก็ปกครองพม่าแบบเป็นประเทศราช ทำให้พม่าไม่พอใจ เพราะต้องการเป็นเอกราชจึงจัดองค์การอาสาสมัครประชาชน (People's Volunteer Organization - PVO) ขึ้นตามหมู่บ้านเพื่อต่อต้านอังกฤษโดยการก่อความไม่สงบ นัดหยุดงาน  อังกฤษเห็นสถานการณ์ไม่ดี จึงเปลี่ยนนโยบายเป็นอลุ้มอล่วยลง และส่งผู้ว่าราชการใหม่มาแทนคนเก่า
ระยะที่สอง (กันยายน ๒๔๘๙ - ธันวาคม ๒๔๘๙)  ผู้ว่าการคนใหม่ใช้นโยบายประนีประนอม อูอองซานมีนโยบายกอบกู้เอกราชโดยสันติวิธี จึงขัดแย้งกับพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งต้องการใช้กำลังบังคับให้อังกฤษมอบเอกราชให้ และได้ยื่นข้อเรียกร้องต่ออังกฤษ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๙ ให้อังกฤษมอบเอกราชแก่พม่า ภายใน ๓๑ มกราคม ๒๔๙๑
ระยะที่สาม (ธันวาคม ๒๔๘๙ - มกราคม ๒๔๙๐)  จากการเจรจาที่กรุงลอนดอน อังกฤษเห็นว่าไม่สามารถจะใช้กำลังปกครองพม่าต่อไปได้ จึงเชิญตัวแทนพม่า นำโดยอูอองซาน ไปเจรจาในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๙๐ ผลปรากฏว่าอังกฤษยอมให้พม่าปกครอง โดยคณะบริหารของพม่าเป็นการชั่วคราว และจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๐ อังกฤษมีเงื่อนไขว่า พม่าต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญก่อน และยังคงอยู่ในเครือจักรภพต่อไป ส่วนรัฐต่าง ๆ หากจะไม่รวมอยู่กับพม่า ก็จะให้เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษต่อไป
อูอองซาน กลับพม่าแล้วได้เจรจากับผู้นำรัฐคะฉิน รัฐชิน และรัฐไทยใหญ่ เกี่ยวกับปัญหาการรวมอยู่ในสหภาพพม่า ซึ่งรัฐต่าง ๆ ก็ยินยอม แต่ในรัฐธรรมนูญ ต้องกำหนดว่า รัฐต่าง ๆ มีสิทธิที่จะแยกตัวเป็นอิสระได้ หลังจากรวมอยู่กับสหภาพพม่าแล้วสิบปี มีการลงนามในสัญญาร่วมกันเรียกว่า สนธิสัญญาปางหลวง เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๐ ส่วนกะเหรี่ยงไม่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมด้วย เพราะต้องการเป็นอิสระโดยทันที
ระยะที่สี่  ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสันนิบาตประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ได้เป็นรัฐบาลและมีมติเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหภาพพม่า (The Union of Burma) ในขณะที่มีการประชุมสภาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีคนร้ายเข้าไปยิงอูอองซานเสียชีวิตในที่ประชุม พรรคจึงมีมติให้อูนุ รองประธานทำหน้าที่เป็นหัวหน้าต่อไป
ระยะที่ห้า  อูนุทำหน้าที่เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญของพม่าจนสำเร็จ ได้รับการรับรองจากอังกฤษที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๐ และมีผลบังคับในวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๙๑ ทำให้พม่าเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ โดยมีอูนุเป็นนายกรัฐมนตรี
ในช่วงสิบปีแรก การปกครองในระบบรัฐสภาของอูนุได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี แต่เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๕๐๑ พรรคเกิดแตกแยก และเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง อูนุจึงเชิญนายพลเนวิน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดทำหน้าที่ดูแลรัฐบาล ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ มีการเลือกตั้งทั่วไป ปรากฏว่าอูนุได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้น แต่เมื่อเข้ามาบริหารประเทศก็ประสบความล้มเหลวอีก ดังนั้น นายพลเนวินจึงทำการปฏิวัติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ แล้วปกครองประเทศแบบเผด็จการ นำประเทศเข้าสู่ระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic Socialist) และได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (Socialist Republic of the Union of Burma) นายพลเนวินได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและปกครองประเทศตั้งแต่นั้นมา



วัฒนธรรม


ประเทศพม่ามีประชากรที่ประกอบด้วยชนหลายเผ่า แต่ละเผ่ายึดมั่นในวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ  นอกจากนั้น ยังยึดมั่นในศาสนาของตนเองอย่างเคร่งครัด ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๘๕ นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้น ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมส่วนใหญ่ จึงผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา
วัฒนธรรมทางภาษา  รัฐบาลพม่าประกาศให้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ และให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สองในโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม มีภาษาของชนเผ่าต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในพม่าไม่น้อยกว่า ๒๐ ภาษา จึงเป็นการยากที่จะให้คนพม่าทั้งประเทศใช้ภาษาพม่าแต่เพียงภาษาเดียว
วัฒนธรรมในการแต่งกาย  ประชาชนพม่านิยมแต่งกายตามแบบฉบับของเผ่าของตน จึงเป็นการยากที่จะให้แต่งกายแบบเดียวกัน แม้พม่าจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษนานถึง ๖๒ ปี แต่อิทธิพลวัฒนธรรมแบบตะวันตก ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของชาวพม่าได้

วัฒนธรรมผสม  เนื่องจากพม่าได้รับอิทธิพลจากหลายทางด้วยกัน เช่น จากอินเดีย จีน มอญ ธิเบต ลาว ไทย และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ประเพณีวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเข้าไปปะปนกับวัฒนธรรมของพม่า